CONTENT : ลิ่มดำมีไว้ทำไม?

     ลิ่มคีย์สีดำบนเครื่องดนตรีหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็น เมโลเดี่ยน, คีย์บอร์ด หรือแม้กระทั่งเปียโนเองก็ตาม เพื่อนๆ รู้กันไหมว่ามีหน้าที่ทำอะไร หรือมีบทบาทอะไรกับเครื่องดนตรีชิ้นนั้น หากอยากรู้ตามกันมาเล๊ยยยย

และสำหรับเพื่อนๆ ที่มีเปียโน หรือคีย์บอร์ด 88 คีย์อยู่แล้วแต่อยากอัพเกรดให้เครื่องดนตรีชิ้นโปรดของเพื่อนๆ เป็นสมาร์ทละก็ขอแนะนำ TheONE HI-LITE ตัวนี้เลยไม่ผิดหวังแน่นอน

อ่านรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติม คลิกลิงค์ด้านล่าง

TheONE HI-LITE : https://cutt.ly/u61t2Ed

ดาวน์โหลดแอพฯ คลิกลิงค์ด้านล่าง

App TheONE : https://cutt.ly/lwUukvZy

#theone #hilite #เปียโน #สอนเปียโน #คีย์บอร์ด #piano #ลิ่มคีย์ #ลิ่มดำ #ครึ่งเสียง



     ตามทฤษฏีทั่วไปของเปียโนเพื่อนๆ คงรู้ในเรื่องของโน้ตตัว โด เร มี ฟา ซอล ที่เป็นลิ่มคีย์สีขาวกันแล้ว แต่ลิ่มสีดำจะเป็นอีกส่วนของครึ่งเสียง ที่เราเรียกกันบ่อยๆ ว่า “ ♯ = ชาร์ป ” และ “ ♭ = แฟลต ” โดยการเรียกของสองตัวนี้ก็จะมีความหมายต่างกัน แต่ยังเป็นโน้ตตัวเดียวกันอีกด้วย

#theone #hilite #เปียโน #สอนเปียโน #คีย์บอร์ด #piano #ลิ่มคีย์ #ลิ่มดำ #ครึ่งเสียง

โดย “คีย์ครึ่งเสียง” หรือ “คีย์ดำ” มีโน้ตที่เฉพาะเจาะจงประกอบด้วย

  • โน้ตครึ่งเสียงแบน (♭)
  • โน้ตครึ่งเสียงแหลม (♯)
         ตามความสัมพันธ์กับคีย์สีขาวที่อยู่ข้างเคียง โดยรายชื่อโน้ตและคีย์จะเป็นตามนี้

– C♯/D♭ – คีย์สีดำแรกหลังจาก C (โด) และก่อน D (เร)

– D♯/E♭ – คีย์สีดำหลังจาก D (เร) และก่อน E (มี)

– F♯/G♭ – คีย์สีดำหลังจาก F (ฟา) และก่อน G (โซ)

– G♯/A♭ – คีย์สีดำหลังจาก G (โซ) และก่อน A (ลา)

– A♯/B♭ – คีย์สีดำหลังจาก A (ลา) และก่อน B (ซี)

     คีย์เหล่านี้เรียกว่า “enharmonic equivalents” ซึ่งหมายความว่าแม้ว่าจะมีชื่อที่ต่างกัน (เช่น G♯ และ A♭) แต่เล่นบนเปียโนเป็นโน้ตเดียวกัน เนื่องจากเปียโนมีการจำกัดในด้านการแสดงความแตกต่างของความสูงของโน้ตที่มีชื่อต่างกันแต่มีความถี่เสียงเดียวกัน การใช้ครึ่งเสียงแบนหรือแหลมขึ้นอยู่กับบริบททางดนตรีและคีย์ที่เพลงนั้นๆ อยู่ในนั้น

     บทบาทและความสำคัญของลิ่มดำคือ การช่วยให้เข้าถึงทุกโทนเสียง และยังเพิ่มอารมณ์ในเล่นหรือแสดงดนตรี โดยลิ่มดำจะช่วยเพิ่มความซับซ้อนและความละเอียดอ่อนในแต่ละฮาร์มอนี ในการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ของเพลงได้อย่างไม่มีสิ้นสุด แถมยังเป็นจุดเด่นที่มีเอกลักษณ์หากฝึกใช้ควบคู่เข้ากับบทเพลงจนชำนาญ

     นี่แหละครับ หน้าที่ของลิ่มดำที่เหมือนจะไม่ต้องมีก็ได้ แต่ที่ไหนได้กับขาดไม่ได้ แฮร่!! และสำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจสาระความรู้แบบนี้อย่าลืมกดแชร์และกดติดตามกันไว้ด้วยน้าาา ครั้งหน้าต้องการคอนเทนต์แบบไหนสามารถคอมเม้นต์ทิ้งไว้ได้เล๊ยยย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *