องค์ประกอบของ “ดนตรีสากล”
ผู้เขียน : Poy เมื่อวันที่ : 1 สิงหาคม 2020
ดนตรีไม่ว่าไทยหรือต่างประเทศ ก็คือศิลปะที่มนุษย์หรือธรรมชาติสร้างให้เกิดเสียง, จังหวะ, คำนอง ที่ทำให้เกิดเสียงที่ฟังแล้วไพเราะ มีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ สามารถช่วยผ่อนคลายจิตใจได้ หรือสร้างอารมณ์ร่วมไปกับคำนองที่สรรค์สร้างได้
แต่หากพูดถึงองค์ประกอบของดนตรีสากล ก็ล้วนมีพื้นฐานมาจากจุดๆ เดียวกัน แต่แตกต่างกันในเรื่องกรอบของวัฒนธรรมที่แต่ละสังคมเป็นคนกำหนด ให้ตามรสนิยมของแต่ละวัฒนธรรม จนทำให้เกิดการแยกแยะเครื่องดนตรีแต่ละเชื้อชาติ
โดยองค์ประกอบเครื่องดนตรีสากล ประกอบด้วย..
พื้นฐานจังหวะ (Element Of Time)
จังหวะเป็นหัวใจพื้นฐานของดนตรี เพราะจังหวะเป็นการจัดระเบียบเสียงโดยใช้ความหนักและเบา ช้าและเร็ว เป็นองค์ประกอบในการเรียบเรียงปะติปะต่อ จนเกิดรูปแบบและจังหวะที่หลากหลาย
# อิธิพลของจังหวะมีผลต่อผู้ฟัง และมักจะพบในลักษณะเชิงกายภาพเช่น ฟังเพลงแล้วกระดิกนิ้วตาม หรือตบมือร่วมไปกับเสียงดนตรี
เสียง (Tone)
เกิดจากผู้ประพันธ์ดนตรี ที่อาศัยวิธีการที่หลากหลายเพื่อผลิตเป็นเสียงเช่นการ ดีด, สี, ตี, เป่า
# รูปแบบของเสียงมีหลายรูปแบบอาทิเช่น เสียงที่เป็นทำนอง เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ หรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดรูปแบบเสียงที่ไม่น่าฟัง
ทำนอง (Melody)
เป็นการจัดระเบียบของเสียง ท่วงทำนองของการบรรเลงดนตรี โน้ตดนตรีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงสูงต่ำ, สั้นยาว หรือดังเบา ล้วนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประพันธ์ และเมื่อนำมาเล่นต่อเนื่องกันกับพื้นฐานของจังหวะ จะได้อารมณ์เสียงดนตรีที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้มากที่สุด
# ในเชิงจิตวิทยา ทำนองจะกระตุ้นผู้ฟังในส่วนของสติปัญญาความประทับใจ การจดจำ และแยกแยะความต่างของความรู้สึกเพลงได้
พื้นผิวของเสียง (Texture)
เป็นคำพื้นฐานที่ทั่วไปเข้าใจกันอยู่แล้วว่า หมายถึง ลักษณะพื้นผิวของสิ่งต่างๆ แต่ในด้านของดนตรี พื้นผิว หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงประสานและทำนองที่นำมารวมกันจนเกิดเป็นพื้นผิวทางดนตรี เปรียบเหมือนการสร้างชั้นของเสียงหลายๆชั้นขึ้นมารวมกัน จากต้นเสียงที่ต่างกันหรือเหมือนกันก็ได้
คีตลักษณ์ / รูปแบบเพลง (Form)
ลักษณะการจัดโครงสร้างของดนตรีหรือเพลง ที่มีการแบ่งเป็นกลุ่มเสียง วลี ประโยค และท่อนเพลง ถ้าให้เปรียบเทียบเหมือนกรอบที่รวมจังหวะ ทำนอง พื้นผิว และสีสันเสียงให้ไปในทิศทางเดียวกัน
สีสันของเสียง (Tone Coler)
คือ เสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่ต่างกัน โดยเสียงดังกล่าวเป็นไปได้ทุกเสียง และเมื่อนำมาร้องหรือบรรเลงร่วมกันจะทำให้เกิดความหลากหลายเสียงมากขึ้นและสีสันของเพลงในภาพรวมมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งการทำให้เกิดเป็นสีสันประกอบด้วยหลายปัจจัยที่แตกต่างกันเช่น วิธีบรรเลง วัสดุที่ใช้ รูปทรง และขนาด สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสีสันของเสียงทั้งสิ้น
เริ่มต้นการเรียนเปียโนด้วยราคาที่คุณเข้าถึงได้
พร้อมโปรโมชั่นพิเศษอีกมากมาย
ฟรีค่าจัดส่ง และฟรีทดลองเรียนบทเรียนออนไลน์ของ The ONE Smart Piano Classroom
Shop now
The ONE ขอนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามาเพื่อ
คนที่ต้องการจะเริ่มเล่นดนตรี ก็สามารถเล่นและเรียนรู้ได้อย่างง่ายดาย